ส่วนประกอบของรังนก ซึ่งทำการวิเคราะห์โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพบว่า ตัวรังนกประกอบด้วย น้ำ 5.11% , โปรตีน 60.9%, แคลเซียม 0.58% และโปแตสเซียม 0.03% สำหรับรัง นกสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดจะประกอบไปด้วย รังนกเพียง 1% และน้ำตาลกรวด 12%
เมื่อสถาบันวิจัยโภชนาการ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล นำรังนกสำเร็จรูปมาวิเคราะห์หาสารอาหารโปรตีน (กรัม) ไขมัน (กรัม) คาร์โบไฮเดรต (กรัม) วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม) วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม) แคลเซียม (มิลลิกรัม) ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) และเหล็ก (มิลลิกรัม) ของรังนกปริมาณ 70-75 มิลลิลิตร แล้วเปรียบเทียบกับไข่ไก่ 1 ฟอง หรือนม 250 มิลลิลิตร ผลปรากฏ คือ
ถ้ามองในแง่โภชนาการแล้ว จะเห็นว่าพลังงานที่ได้จากรังนกสำเร็จรูปนี้ได้จากน้ำตาลทรายกรวดที่เติมลงไป และมีปริมาณน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟอง หรือประมาณแค่ 1 ใน 3 ของนม 1 กล่องเท่านั้น
ในแง่ของโปรตีน ถ้าต้องการให้ได้โปรตีนเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟอง ต้องกินรังนกมากถึง 26 ขวด (2,900 บาท) หรือถ้าจะให้ได้เท่ากับนม 1 กล่อง ก็ต้องกินรังนกถึง 34 ขวด (3,800 บาท) หรืออีกนัยหนึ่งมีโปรตีนในรังนกสำเร็จรูป 1 ขวด (70-75 มิลลิลิตร ) เท่ากับนมสดประมาณ ? ช้อนโต๊ะ หรือเท่ากับถั่วลิสงเพียง 2 เมล็ด หรือน้อยกว่า ? ฟองของไข่นกกระทา นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ตามสรรพคุณของตำรายาจีน เชื่อว่า รังนกมีสรรพคุณในการเพิ่มความต้านทานโรคและระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เป็นต้น ส่วนจะคุ้มค่าราคาหรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคจะพิจารณา